เชือกโรยตัวกับเชือกปีนหน้าผาแตกต่างกันอย่างไร  

The Perfect Choice For Your Next Adventure  » Blogging »  เชือกโรยตัวกับเชือกปีนหน้าผาแตกต่างกันอย่างไร  
0 Comments
เชือกโรยตัว

หลายๆ คนมักจะสับสนระหว่างเชือกโรยตัวกับเชือกปีนหน้าผาจริงๆ แล้วชอบทั้งสองชนิดนี้เป็นเชือกคนละประเภท ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกันออกไป วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยว่าระหว่างเชือกโรยตัวกับเชือกปีนหน้าผานั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรถ้าพร้อมแล้วก็ตามไปชมกันเลย  

เชือกที่ใช้แขวนตัวมนุษย์เพื่อความปลอดภัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่  

1. Static Rope คือ เชือกที่มีความยืดหยุ่นต่ำ   

2. Dynamic Rope คือ เชือกที่มีความยืดหยุ่นสูง  

เชือกสำหรับใช้ปีนหน้าผาจะเป็นเชือกประเภท Dynamic Rope  เชือกที่มีความยืดหยุ่นสูง ในส่วนเชือกโรยตัวที่ใช้กับการทำงานบนที่สูงคือเชือกประเภท Static Rope เป็นเชือกที่มีความยืดหยุ่นต่ำนั่นเอง  

เชือกโรยตัว Static Rope คือ เชือกที่ยืดออกได้ไม่เกิน 5% มีความยืดหยุ่นต่ำ ส่วนใหญ่จะอยู่ราวๆ 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์หรือแต่ละสเปคสำหรับเชือก Dynamic Rope จะอยู่ราวๆ 20-40%  

เชือกโรยตัว (Static Rope) ทำไมต้องมีความยืดหยุ่นน้อย ถ้าเกิดแรงตกกระชากจะเกิดอะไรขึ้น โดยปกติคนที่ใช้เชือก Static Rope จะมีอุปกรณ์หลายรูปแบบทั้งอุปกรณ์การตกชนิดต่างๆ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ที่ช่วยให้การตกหรือการเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุด การทำงานบนที่สูงส่วนใหญ่จะไม่มีการยืนบีเลย์ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยู่ด้านล่าง การเซฟตัวเองจึงต้องเตรียมตัวอย่างเต็มรูปแบบ 

สำหรับเชือกที่ใช้ปีนหน้าผาหรือ Dynamic Rope ลองนึกภาพตามดูว่าถ้าเรากำลังปีนหน้าผาแล้วเกิดเมื่อย อยากเลิกปีน เราจะต้องตะโกนบอกคนที่บีเลย์หรือคนคอยเซฟเชือกเราดึงเชือกให้ตึงเวลาปล่อยตัวทิ้งตัวลงบน Harness จะไม่เกิดแรงกระชาก แต่ถ้าทิ้งตัวลงจากที่สูงอย่างไม่ทันตั้งตัวคนปีนและคนบีเลย์ การตกจนถึงจุดที่เชือกตึงจะมีแรงรั้งทั้ง 2 ด้านเป็นแดงตกกระชากถ้ามีค่ามากกว่าน้ำหนักคูณด้วยแรงโน้มถ่วงกระทำอยู่บนอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับตัวเรา แรงกระชากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ดังนั้นเพื่อควรมีความยืดหยุ่นพอสมควร เพื่อซับแรงกระชากไว้ 

เชือกโรยตัว อุปกรณ์โรยตัวตามมาตรฐานที่ต้องมี โดยมีทั้งหมด 2 เส้น ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง มีความจำเป็นต้องใช้เชือกโรยตัวควรผ่านการฝึกอบรมเรียนโรยตัวทำงานตามหลักสูตรมาตรฐาน ควรผ่านการเรียนเทคนิคการโรยตัวด้วยระบบเชือก 2 เส้นให้มีความเป็นมืออาชีพในการทำงานและเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานมากที่สุด  

งานโรยตัว เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูงไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง งานเช็ดกระจกงาน ซ่อมแซมงาน ซ่อมบำรุง ทาสี ฯลฯ การโรยตัวทำงานถือว่าเป็นงานที่นิยมเนื่องจากสะดวกและประหยัด อย่างเช่น ในกรณีที่ต้องทาสีตึก 30 ชั้นถ้าใช้นั่งร้านต้องใช้นั่งร้านสูงเท่ากับตึก 30 ชั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ หากเป็นไปได้ก็มีต้นทุนสูง ดังนั้น งานโรยตัวจึงสามารถตอบโจทย์ได้ดี เมื่อมีงานโรยตัวก็ต้องมีเชือกโรยตัวเข้ามาเกี่ยวข้องหนึ่งในอุปกรณ์ที่ป้องกันความปลอดภัยที่สำคัญ